Social Media

Pinterestgoogleplus ยูทูป stumbler instagram  bloggr RSS Flickr Twitter linkedindiggเฟซบุ๊ค Tumblr nuffnang_bid = "98bf6a4f3c2a78f32162517ab9193b9a"; document.write('' );

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Community Mall Market


" ตลาด คอมมูนิตี้มอลล์ "

              สถานการณ์ธุรกิจค้าปลีก ในรูปแบบ คอมมูนิตี้มอลล์ ในปัจจุบันนั้นได้เกิดผู้เล่นหน้าใหม่เกิดมามากมายทั้งรายใหญ่รายย่อยซึ่งมีทั้งเจ้าตลาดอย่างสยามฟิวเจอร์ที่เป็นผู้นำในตลาดนี้และตามมาด้วยโมเดล@Park,@Oasis,ของเทสโก้โลตัสที่เป็นผู้เล่นระดับภูมิภาคโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ส่วนระดับอื่นมักจะเป็นระดับเมืองเสียส่วนใหญ่ทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ซึ่งผู้เล่นรายย่อยเปิดอยู่เยอะมีทั้งที่เป็นคอมมูนิตี้ มอลล์จริงๆและไม่ใช่คอมมูนิตี้ มอลล์แต่พยายามทำเหมือนเพื่อเกาะกระแสเทรนด์ของธุรกิจในที่นี้ขอยกตัวอย่าง คอมมูนิตี้ มอลล์ แท้ๆไม่นับสองรายข้างต้นก็จะมี Pure Place , The Crystal ,The Paseo, Panya Park , The Compound , K Village , Pavilion Place , The9 , Monopoly Park , นอกนั้นไม่ว่าจะใช้คำว่า Lifestyle Mall หรือ Lifestyle Center แม้กระทั่ง Neighborhood Center ก็ยังถือว่ายังไม่สมบูรณ์ในรูปแบบของ คอมมูนิตี้ มอลล์ ซึ่งบางรายก็ไม่ใช่จริงๆแต่ขอเกาะกระแสกับเขาด้วย ซึ่งมีทั้งพลาซ่าเปิดใหม่และปั๊มน้ำมัน,โครงการตลาดและอาคารพานิชย์บางแห่ง,ศูนย์การค้าเปิดใหม่บางรายก็นำศัพท์พวกนี้มาใช้ซึ่งตัวเองเป็นศูนย์การค้าแบบปิดแต่ก็เอาเถอะ บางรายก็ไม่มีประสบการณ์ในการทำศูนย์การค้ามาก่อนหรือไม่เคยอยู่วงการค้าปลีกมาก่อนแต่อาศัยประสบการณ์ในการทำอสังหาริมทรัพย์มาก่อนแล้วคิดว่าทำได้ไม่น่ายากแต่ความจริงแล้วมันมีองค์ประกอบหลายอย่างไม่ใช่มีเงินแล้วสามารถลงทุนทำโครงการได้เลยอย่างน้อยต้องศึกษาพอสมควร ยกตัวอย่างเจ้าตลาดอย่างสยามฟิวเจอร์ว่าเขาทำอย่างไรและมีรูปแบบเป็นแบบไหน หรือจ้างผู้บริหารทีมีประสบการณ์ค้าปลีกมาช่วย ไม่เช่นนั้นธุรกิจของท่านก็จะประสบปัญหาในระยะยาวอย่างแน่นอน ผมขอยกกรณีศึกษาให้เป็นตัวอย่างอย่าง คอมมูนิตี้ มอลล์รายนึงอยู่ย่านประชาชื่น ตอนเปิดตัวใหม่ๆ ก็ค่อนข้างได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี แต่เมื่อเปิดทำการมาได้ระยะหนึ่งประสบปัญหาลูกค้าไม่เข้าศูนย์ อันเนื่องจากร้านค้าที่เปิดอยู่ภายในศูนย์ไม่สามารถดึงลูกค้าได้เพราะอะไรครับเพราะว่าไม่มีร้านค้าที่เป็นแม่เหล็กภายในศูนย์เลยหรือมีก็มีน้อยมากไม่สามารถดึงลูกค้าได้กลับกลายเป็นว่าภายในศูนย์มีแต่ร้านค้าที่ลูกค้าไม่รู้จักหรือรู้จักเฉพาะกลุ่มเท่านั้นสุดท้ายทั้งเจ้าของโครงการกับบรรดาร้านค้าแทนที่จะ Win Win ด้วยกันกลับกลายเป็นต่างฝ่ายต่างประสบปัญหา สุดท้ายถ้าสายป่านไม่ยาวก็ต้องเลิกกิจการหรือเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นๆ อันนี้เป็นตัวอย่างให้กับผู้ที่อยากจะลงทุนธุรกิจนี้ได้ศึกษาได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะได้เขียนในบทความต่อๆไปเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่จะลงทุนต่อไป
              สถานการณ์ปัจจุบันรายใหม่ที่เข้าตลาดอย่าง Amorini ของกลุ่มอมรพันธ์กรุ๊ปก็น่าจะประสบความสำเร็จได้ไม่ยากเพราะรูปแบบและองค์ประกอบครบ ช่วงต้นปีหน้าและกลางปีก็มีหลายโครงการที่จะเปิดคือนอกจาก Amorini ก็จะมี The9 พระราม9 และรายเล็กอื่นๆซึ่งติดตามได้จากที่นี่จะมาแนะนำโครงการใหม่ๆให้ทราบในบทความต่อไป ซึ่งการที่เปิดที่นี่ขึ้นมาก็มีจุดประสงคฺเพื่อเป็นสื่อกลางให้กับผู้ประกอบธุรกิจคอมมูนิตี้ มอลล์และกลุ่มร้านค้าต่างๆ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน รวมถึงการให้ข้อเสนอแนะหรือให้คำปรึกษา รวมถึงบทความที่เป็นประโยชน์ รวมถึงการแนะนำพื้นที่ใหม่ๆหรื่อพื้นที่ว่างให้ทั้งผู้เช่าและผู้ขายได้ตามความต้องการของแต่ละธุรกิจ
               คอมมูนิตี้ มอลล์ ในต่างจังหวัดนั้นก็มีนะครับไม่ใช่ว่าไม่มีแต่ส่วนใหญ่จะอยู่ตามหัวเมืองสำคัญและเมืองท่องเที่ยวเสียเป็นส่วนใหญ่ ที่พอเป็นที่รู้จักก็ UD Town อุดรธานีนอกนั้นก็มีที่เชียงใหม่ค่อนข้างเยอะแต่ไม่เต็มรูปแบบเท่าไร สามจังหวัดชายแดนใต้อย่างปัตตานีก็ยังมีเลยอย่างโครงการ Pattni Place ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ยังมีที่พัทยาก็หลายโครงการอยู่ไม่นับรวมของสยามฟิวเจอร์อย่าง Kao Yai Market Village หรือ Avenue Pattaya ก็ยังมีที่หัวหิน,สมุย,ภูเก็ต ตลาดในต่างจังหวัดยังเป็นตลาดที่น่าลงทุนและยังมีโอกาสโตอีกเยอะ สำหรับท่านที่สนใจจะลงทุนในธุรกิจนี้ สนใจก็มาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน
สำหรับผู้ที่ต้องการหาที่ปรึกษาหรือร้านค้าหรือบทความค้าปลีกที่เกี่ยวข้องก็ไปก็ไปที่ The Retail ซึ่งมีบทความเดิมที่ได้เขียนไว้ในหลายเว็บของ The Retail

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น